ความผิดตาม พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์


 สรุปครบ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ 2560 [ฉบับล่าสุด]

        พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ หรือ พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ฉบับล่าสุดได้มีการประกาศใช้เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2560 ซึ่งเป็น พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ฉบับที่ 2

        พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ คือพระราชบัญญัติที่ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ซึ่งคอมพิวเตอร์ที่ว่านี้ก็เป็นได้ทั้งคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค สมาร์ตโฟน รวมถึงระบบต่างๆ ที่ถูกควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ด้วย ซึ่งเป็นพ.ร.บ.ที่ตั้งขึ้นมาเพื่อป้องกัน ควบคุมการกระทำผิดที่จะเกิดขึ้นได้จากการใช้คอมพิวเตอร์ หากใครกระทำความผิดตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์นี้ ก็จะต้องได้รับการลงโทษตามที่พ.ร.บ.กำหนดไว้ ปัจจุบันมีคนใช้คอมพิวเตอร์ รวมถึงสมาร์ตโฟนเป็นจำนวนมาก บางคนก็อาจจะใช้ในทางที่เป็นประโยชน์ แต่บางคนก็อาจใช้สิ่งนี้ทำร้ายคนอื่นในทางอ้อมด้วยก็ได้

พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ 2560 [ฉบับล่าสุด] มีกี่หมวด กี่มาตรา

        พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ 2560 [ฉบับล่าสุด] มีอยู่ 2 หมวด โดยหมวดที่เกี่ยวข้องกับประชาชนคือ หมวด 1 “ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์” เพราะเป็นหมวดที่บอกว่า พฤติกรรมใดที่มีความผิด พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ และมีบทลงโทษอะไรอย่างไร โดยหมวด 1 มีมาตราที่ควรสนใจทั้งหมด 11 มาตราดังนี้








ตัวอย่าง การกระทำความผิดเกี่ยวกับ พรบ คอมพิวเตอร์ พร้อมบทลงโทษ
          พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ มาตรา 5 | ตัวอย่างการกระทำผิด
    
การเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ ตัวอย่างเช่น
    
  • การแฮคเกอร์ เข้าไปดูข้อมูลคอมพิวเตอร์คนอื่น โดยไม่ได้รับอนุญาต
  • การใช้ username / password ของผู้อื่น Login เข้าสู่ระบบ โดยไม่ได้รับการอนุญาต
        บทลงโทษ
   ต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 1 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

            พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ มาตรา 6 | ตัวอย่างการกระทำผิด

มาตรานี้จะเอาความผิดในกรณีที่ผู้เก็บรักษาหรือล่วงรู้ถึงระบบป้องกันรักษาความปลอดภัย(อาทิเช่น ชื่อ
ผู้ใช้บริการ(User Name) และรหัสผ่าน(Password) และน าเอาข้อมูลดังกล่าวไปเปิดเผยโดยก่อให้เกิดความเสียหาย ก็มีโทษตามมาตรา

  • นาย ก.เป็นผู้จัดการระบบคอมพิวเตอร์ และทราบรหัสผ่านและชื่อผู้ใช้บริการของ พนักงานและกรรมการทั้งหมด และน าไป เปิดเผยแก่บุคคลภายนอก ก็ถือเป็นความผิด
        บทลงโทษ
    โทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี โทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท

           พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ มาตรา 8 | ตัวอย่างการกระทำผิด

ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อดักรับไว้ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นที่อยู่ระหว่างการส่งในระบบคอมพิวเตอร์และข้อมูล คอมพิวเตอร์นั้นมิได้มีไว้ เพื่อประโยชน์สาธารณะหรือเพื่อให้บุคคลทั่วไปใช้ประโยชน์ใด

  • การใช้เครื่องสแกนเนอร์ขโมยรหัสผ่านและข้อมูลของบัตรเคดิต/เอทีเอ็ม รวมถึงการดักรับส่ง SMS อีเมล์/ข้อมูลภาพเสียงใดๆผ่านระบบคอมฯ(Sniffing)
        บทลงโทษ
    จำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
           

            พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ มาตรา 9 | ตัวอย่างการกระทำผิด

ทำลาย แก้ไข ดัดแปลง นำไฟล์อันตรายเข้าสู่คอม จนทำให้ข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นเสียหาย ตัวอย่างเช่น

  • การนำไฟล์อันตราย เช่น ไวรัส มัลแวร์ มาสู่คอมพิวเตอร์ของเพื่อน หรือ คนรู้จัก จนระบบคอมพิวเตอร์เสียหาย
  • การแฮคเกอร์ เข้าไปดูข้อมูลคอมพิวเตอร์คนอื่น โดยไม่ได้รับอนุญาต
  • การใช้ username / password ของผู้อื่น Login เข้าสู่ระบบ โดยไม่ได้รับการอนุญาต
        บทลงโทษ
    ต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

            พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ มาตรา 10 | ตัวอย่างการกระทำผิด

ผู้ใดกระทำการด้วยประการใดโดยมิชอบเพื่อให้การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นถูกระงับ ชะลอ ขัดขวาง หรือรบกวน จนไม่สามารถทำงานตามปกติได้

  • หากการกระทำดังกล่าวทำให้ระบบคอมฯถูกชะลอขัดขวางจนไม่สามารถทำงานเป็นปกติได้ อาทิเช่นการทำ DOS(Denial of Service) ถือเป็นความผิด ม.10
    ปล. DOS(Denial of Service) แปลแบบตรงตัวได้คือการปฏิเสธการให้บริการ เป็นการโจมตีโดยมีจุดมุ่งหมายทำให้ระบบไม่สามารถให้บริการได้ แบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ
  1. การโจมตีด้วยโครงข่าย (Network base Attack)
  2. การโจมตีด้วยแอพพลิเคชั่น (Application base Attack)
     บทลงโทษ
    จำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
        

         พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ มาตรา 11 | ตัวอย่างการกระทำผิด

มาตรานี้เกี่ยวข้องโดยตรงกับพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ เพราะเกี่ยวข้องกับการโปรโมทสินค้าบนอินเตอร์เน๊ต โดยการกระทำที่อาจผิด พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ 2560 มีดังนี้

  • การส่งข้อมูลหรืออีเมล์ก่อกวนผู้อื่น (สแปม) เพื่อขายสินค้าหรือบริการ จนผู้รับเกิดความเดือดร้อนรำคาญ โดยไม่มีปุ่มให้กดเลิกการรับอีเมล์
  • การฝากร้านใน FB หรือ IG แบบรัวๆ ซ้ำไปซ้ำมา โดยเจ้าของเพจไม่ได้อนุญาต จนเกิดความเดือดร้อนรำคาญแก่เจ้าของเพจหรือผู้พบเห็น
        บทลงโทษ
    ต้องระวางโทษ ปรับไม่เกิน 2 แสนบาท

        พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ มาตรา 12 | ตัวอย่างการกระทำผิด

กระทำการทำลาย แก้ไข หรือ รบกวนข้อมูลหรือระบบคอมพิวเตอร์ ของระบบสาธารณะ หรือ ความมั่นคง เช่น

  • เจาะเข้าระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งความคุมไฟฟ้าในนครหลวง และสั่งดับไฟฟ้าทั่วเมือง อันก่อให้เกิดความวุ่นวายและมีผลกระทบเป็นวงกว้าง
        บทลงโทษ
    ต้องระวางโทษ ปรับไม่เกิน 2 แสนบาท

        พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ มาตรา 13 | ตัวอย่างการกระทำผิด

จำหน่ายหรือเผยแพร่ชุดคำสั่งเพื่อนำไปใช้กระทำความผิด ตัวอย่างเช่น

  • เป็นผู้จำหน่ายชุดคำสั่งที่ใช้ในการเจาะระบบ หรือ รบกวนข้อมูลคอมพิวเตอร์ เช่น โปรแกรมทำ BOTNET หรือ DOS (Denial of Service)
        บทลงโทษ
    ต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกิน 5 ปี เดือน ปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

        พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ มาตรา 14 | ตัวอย่างการกระทำผิด
คือหนึ่งในมาตราที่ประชาชนควรให้สนใจเป็นพิเศษ เพราะเป็นหนึ่งในฐานความผิดที่มีคดีฟ้องร้องมากที่สุด โดยตัวอย่างการกระทำผิด มาตราดังกล่าว มีดังนี้

  • โพสต์หรือแชร์ ข้อมูลปลอม ไม่เป็นความจริง หลอกลวง (อย่างเช่น แม่ค้าออนไลน์โพสต์หลอกลวงเพื่อเก็บเงินลูกค้า แต่ไม่มีการส่งมอบสินค้าจริง โฆษณาธุรกิจลูกโซ่ที่หลอกลวงเอาเงินลูกค้า โพสข่าวปลอม เป็นต้น)
  • การกด like & Share ข่าวหรือข้อมูลปลอม อันเป็นการให้เพื่อนใน social network ได้เห็นข้อมูลดังกล่าวด้วย ก็ถือเป็นความผิดตาม พรบ คอมพิวเตอร์ มาตรา 14 เช่นกัน
  • เป็นแอดมินเพจที่ปล่อยให้มีข่าวหรือข้อมูลปลอมเผยแพร่ในเพจตัวเอง โดยมิได้ทำการลบทิ้ง
  • โพสหรือเผยแพร่ภาพเปลือย ภาพลามกอนาจารของคนรู้จัก หรือ คนรักเก่า อันเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับความอับอาย หรือเสียหาย
        บทลงโทษ
    หากเป็นการกระทำที่ส่งผลถึงประชาชน ต้องได้รับโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และหากเป็นกรณีที่เป็นการกระทำที่ส่งผลต่อบุคลใดบุคคลหนึ่ง ต้องได้รับโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 6 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (แต่ในกรณีอย่างหลังนี้สามารถยอมความกันได้)

        พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ มาตรา 16 | ตัวอย่างการกระทำผิด

กระทำการเผยแพร่ภาพที่สร้างขึ้น หรือภาพตัดต่อ อันเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับการดูหมิ่น อับอาย หรือ เสียชื่อเสียง ตัวอย่างเช่น

  • เผยแพร่ข้อมูลเยาวชน โดยไม่มีการปกปิดตัวตนของเยาวชนท่านนั้น โดยตามกฏหมาย หากเปิดเผยตัวตนเยาวชนสู่สาธารณะ อาจทำให้ใช้ชีวิตในสังคมลำบาก อาจถูกดูหมิ่น เกลียดชัง
  • เผยแพร่ภาพของผู้เสียชีวิต อันส่งผลให้พ่อแม่หรือคู่สมรสของผู้ตาย เกิดความอับอาย
        บทลงโทษ
    ต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกิน 3 ปี เดือน ปรับไม่เกิน 2 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ



        สรุป
    พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2560 หรือฉบับที่ 2 ปัจจุบันมีผลบังคับใช้แล้ว ถ้าเราเป็นคนหนึ่งที่คลุกคลีกับการใช้งานคอมพิวเตอร์ หรืออินเตอร์เน็ต ก็ควรจะรู้เกี่ยวกับ พ.ร.บ. นี้ไว้ค่ะ เพราะเราจะได้ไม่เผลอไปทำความผิด อย่างน้อยๆ ต้องระวัง 8 ประเด็นที่เราได้เขียนเอาไว้เลยค่ะ อีกทั้งการมี พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ขึ้นมา ก็ถือว่าเป็นการควบคุมการใช้งานคอมพิวเตอร์ในระดับหนึ่ง และในทางหนึ่งก็ช่วยคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของผู้ใช้งานด้วย
    
        แหล่งอ้างอิง : https://contentshifu.com/blog/computer-law#


ความคิดเห็น